ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ |
|||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
มาตรา 1607 การถูกกำจัดมิให้รับมรดกนั้นเป็นการเฉพาะตัว ผู้สืบสันดานของทายาทที่ถูกกำจัดสืบมรดกต่อไปเหมือนหนึ่งว่าทายาทนั้นตายแล้ว แต่ในส่วนทรัพย์สินซึ่งผู้สืบสันดานได้รับมรดกมาเช่นนี้ ทายาทที่ว่านั้นไม่มีสิทธิที่จะจัดการและใช้ดังที่ระบุไว้ในบรรพ ๕ ลักษณะ ๒ หมวด ๓ แห่งประมวลกฎหมายนี้ ในกรณีเช่นนั้นให้ใช้มาตรา ๑๕๔๘ บังคับโดยอนุโลม |
|||||||||
คำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่วข้อง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7036/2557 แม้จำเลยต้องถูกกำจัดมิให้ได้มรดกในที่ดินพิพาท แต่การถูกกำจัดมิให้รับทรัพย์มรดกนั้นเป็นเรื่องเฉพาะของจำเลย ผู้สืบสันดานของจำเลยสืบมรดกแทนจำเลยต่อไปได้ ข้อเท็จจริงได้ความจากทางนำสืบของจำเลยว่า จำเลยมีบุตรทั้งหมด 4 คน จึงถือว่าจำเลยมีผู้สืบสันดานที่สามารถสืบมรดกแทนจำเลยเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามมาตรา 1607 เมื่อทายาทของ ก. เจ้ามรดกมีทั้งหมด 10 คน แม้ ส. ทายาทคนหนึ่งได้ตายไปก่อนที่ ก. ถึงแก่ความตาย แต่ ส. ก็มีผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ ส่วนจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ก. คนหนึ่งถูกกำจัดมิให้ได้มรดกที่ดินพิพาท แต่จำเลยก็มีผู้สืบสันดานมรดกแทนที่จำเลยได้ ดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงต้องแบ่งเป็น 10 ส่วนเท่าจำนวนทายาทของ ก. โจทก์ทั้งสามจึงมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งในที่ดินพิพาทคนละ 1 ใน 10 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6782/2544 จำเลยปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก จำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดก แต่การถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรนั้นเป็นการเฉพาะตัว บุตรของจำเลยซึ่งไม่ได้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกย่อมสืบมรดกต่อไปได้เหมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้ว ตามบทบัญญัติ ป.พ.พ. มาตรา 1607, 1639
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 478/2539 จำเลยมิได้ครอบครองที่ดินส่วนของผู้ตายด้วยเจตนาเป็นเจ้าของก่อนผู้ตายถึงแก่ความตายที่ดินยังคงเป็น มรดกของผู้ตายจำเลยจึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนของผู้ตายโดยการ ครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1382 โจทก์ทั้งสองไม่ใช่ คู่ความในคดีก่อนจึงเป็น บุคคลภายนอกเมื่อโจทก์ทั้งสองสามารถพิสูจน์ได้ว่าจำเลยมิได้ครอบครองที่ดินส่วนของผู้ตายโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลา10ปีคำสั่งศาลในคดีก่อนที่ว่าที่ดินส่วนของผู้ตายเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยโดยการครอบครองจึงไม่ผูกพันโจทก์ทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145(2) จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทส่วนของผู้ตายทั้งหมดโดยการครอบครองทั้งๆที่จำเลยมิได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเป็นเวลาถึง10ปีก่อนจำเลยยื่นคำร้องขอเช่นนั้นจนศาลหลงเชื่อและมีคำสั่งว่าจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองแล้วจำเลยนำคำสั่งศาลไปจดทะเบียนการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทถือได้ว่าจำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้โดยฉ้อฉลหรือรู้อยู่ว่าตนทำให้เสื่อมประโยชน์ของทายาทคนอื่นจำเลยจึงต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1605วรรคหนึ่ง แม้จำเลยได้ยักย้ายหรือปิดบังทรัพย์มรดกของผู้ตายมากกว่าส่วนที่ตนจะได้และต้องถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายเลยอันเป็นการถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกหลังเจ้ามรดกตายก็ตามบุตรของจำเลยซึ่งเป็น ผู้สืบสันดานของจำเลยทายาทผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกของผู้ตายย่อม สืบมรดกของผู้ตายเสมือนหนึ่งว่าจำเลยตายแล้วได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1607 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยไม่ได้วินิจฉัยปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความหรือไม่เมื่อโจทก์ทั้งสองอุทธรณ์จำเลยก็ไม่ได้ยกปัญหาเรื่องฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความตั้งเป็นประเด็นไว้ในคำแก้อุทธรณ์จึง ไม่มี ประเด็นเรื่อง อายุความในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาว่าฟ้องโจทก์ทั้งสองขาดอายุความจึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย |